วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562




NOTE 04 

24 AUGUST 2019

ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 
ที่ IMPACT Challenger Muang Thong Thani    Hall 6-12 



นิทรรศการประกอบด้วย
1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์
2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต
ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2562 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
- นิทรรศการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเรื่องพลาสติก
- นิทรรศการปีแห่งตารางธาตุสากล
- นิทรรศการนิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์เรื่อง Nikola Tesla ยอดนักวิทย์ผู้คิดเปลี่ยนโลก
- นิทรรศการ ๕๐ ปี Moon landing
- นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ
- นิทรรศการข้าว
- นิทรรศการพื้นที่นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ สู่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Engineering space
3. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในแนวทางสะเต็มศึกษา
- กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับครอบครัวและเยาวชน
- กิจกรรมลานประกวดแข่งขัน เครื่องบินกระดาษพับ
- กิจกรรมลานปลูกฝังปัญญาเยาว์ สำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของเด็กก่อนวัยเรียน
ในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
- ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
- การแสดงทางวิทยาศาสตร์
- การประกวดแข่งขันตอบปัญหา มอบรางวัล
4. นิทรรศการศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
- แสดงผลงานความก้าวหน้าด้านการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกิจการด้านต่าง ๆ
ของประเทศ จัดแสดงโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในประเทศไทย จากสถาบันวิจัย สมาคม สถาบันการศึกษา และกระทรวง ทบวง กรม
- ผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงกลาโหม และอื่นๆ
- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย
- ผลงานชนะเลิศเครื่องจักร เครื่องยนต์ และนวัตกรรมจากการประกวดเทคโนโลยีของไทย
- ผลงานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย
- การเชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี รวมทั้งผู้เป็นบุคคลตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นต้น
5. การประชุม สัมมนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประกอบด้วยการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศและภูมิภาค


ดิฉันไปวันเสาร์คนยังคงเยอะมากก่อนเข้างานมีการลงทะเบียนรับแสตมป์ และดิฉันได้เช็คอินว่าอยู่ที่นั่นได้รับทั้งแผนที่งานและของรางวัลคือกระจกแบบพวงกุญแจ


ภายในงานมีบูทส์หลายบูทส์มากใหญ่มากเด็กๆมาดูกันก็เยอะมาก บูทส์แรกที่ดิฉันดูคือการทำฝนเทียม




ได้ไปถ่ายรูปในบูทส์แสงและเงา สีสวยมากเด็กๆต่างพากันมาถ่ายกันมากมาย สีเหมือนสีรุ้งพอเราไปยืนตรงนั้นเกิดเงาและสัรวมกันเป็นสีใหม่ดังรูปด้านบน



มีการวาดภาพสีลงบนถุงมือผ้าเป็นผลงานที่เกิดความน่าใช้เปลี่ยนถุงมือผ้าธรรมดาๆให้น่าใช้และสร้างรายได้ ได้อีกทางหนึ่ง
เด็กๆต่างตื่นเต้นและพากันศึกษางานวิทยาศาสตร์ พูดคุยกันอย่างมีความสุข





บูทส์ต่อไปคือ จุดกำเนิดของธาตุและตารางธาตุ
ในนั้นมีการเล่นเกมบิงโก


ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีความซับซ้อนและเป็นกลไกในร่างกายของเราที่ทำงานอย่างเป็นระบบต่างทำหน้าที่ภายในตัวของมันเอง





ต่อไปคือโรงนาจำลองการปลูกข้าวและมีเครื่องสีข้าวแบบเก่าและแบบใหม่ให้ได้ชม มีการจำลองการไถนา มีเกมส์ต่างๆให้ได้ร่วมสนุก




ptt Gruop เปิดโลกปิโตเลียมเกี่ยวกับน้ำมันดิบ ,NGV

( ปิโตรเลียมคืออะไร เรามาทำความรู้จักปิโตรเลียมกัน ) 
ปิโตรเลียม เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอันสลับซับซ้อน ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในชั้นหินใต้พื้นผิวโลก มีธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ ไฮโดรเจน และคาร์บอน ได้จากการสลายตัวของอินทรีย์สารจำนวนมาก ทับถมกันในหินตะกอน ภายใต้ความร้อนและความดันมหาศาล เมื่อนำมากลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ยางมะตอย รวมทั้งเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยเคมี
ยาปราบศัตรูพืช พลาสติก และยางสังเคราะห์ เป็นต้น

น้ำมันดิบ
น้ำมันดิบประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนชนิดระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามคุณสมบัติและชนิดของไฮโดรคาร์บอน
ที่ประกอบอยู่ คือ 
  • น้ำมันดิบชนิดที่ไม่มีไขมาก (paraffin base) 
  • น้ำมันดิบชนิดที่มียางมะตอยมาก (asphalt/naphthenic base) 
  • น้ำมันดิบชนิดผสม (mixed base) เป็นน้ำมันดิบพื้นฐานชนิดผสมกันระหว่างชนิดมีไขมากและชนิดที่มียางมะตอยมาก 
           น้ำมันดิบโดยทั่วไปจะมีสีดำหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป
เมื่อน้ำมันดิบรวมอยู่กับน้ำ น้ำมันดิบจะลอยอยู่เหนือน้ำ 

แก๊สธรรมชาติ
โดยทั่วไปสามารถแบ่งหลักๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้
  1. Dry gas หมายถึงแก๊สธรรมชาติที่ไม่มีส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติเหลว (condensate) มีแต่แก๊สมีเทนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีราคาสูงกว่าแก๊สธรรมชาติชนิดอื่นๆ
  2. Wet gas หมายถึง แก๊สธรรมชาติที่มีส่วนประกอบหลักเป็นพวกแก๊สธรรมชาติเหลว ได้แก่ โพรเพน บิวเทน เพนเทน และเฮกเซน แก๊สเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูง ทาให้เกิดปัญหาในการขนส่งชนิดของก๊าซธรรมชาติ 
ก๊าซมีเทนใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบสาหรับการผลิตปุ๋ย และอัดใส่ถังใช้เป็นเชื้อเพลิงรถโดยสาร
เอ็นจีวี ( Natural gas for vehicles - NGV) อีเทน และโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas - LPG) ซึ่งประกอบด้วยโพรเพนและบิวเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม เชื้อเพลิงสำหรับรถและอุตสาหกรรม
แก๊สโซลีนธรรมชาติ (Natural gas liquid - NGL) ส่งเข้าโรงกลั่นเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินแก๊สธรรมชาติ


เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟที่สุดคือ เครื่องทำน้ำอุ่น ใช้กำลังไฟฟ้าอยู่ที่ 2,500-12,000 วัตต์กันเลยทีเดียว


เป็นซากสัตว์ที่นำมาให้ได้ศึกษา


โครงกระดูกร่างกายมนุษย์,การเกิดเงา,การนำแสงไฟมาขดทับซ้อนจนเกิดเป็นมุมที่ได้เป็นภาพ
มีการบรรยายสารให้ความกันแดดว่าปัจจุบันและในประเทศไทยควรใช้ spf อยู่ที่เท่าไหร่ spf30 เหมาะกับประเทศไทยแล้วหากไม่ได้ทำกิจกรรมกลางแจ้งที่บ่อยจนเกิดไป 



และสุดท้ายมีบูทส์ขายของต่างๆที่เด็กดูจะชอบมาก มีคนเข้าไปชมและซื้อกันค่อนข้างเยอะค่ะ


VOCABULARY


1. Origin                 แหล่งกำเนิด 
2. Refraction          การหักเหแสง 
3. Skeleton            โครงกระดูก
4. Carcass             ซากสัตว์ 
5. Artificial rain       ฝนหลวง,ฝนเทียม









วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562





NOTE 03

16 AUGUST 2019




วันนี้เรียนรวมกันเนื่องจากสัปดาห์หน้าอาจารย์ติดธุระจะได้ไม่เป็นการเสียเวลาเรียน




ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ของเล่นวิทยาศาสตร์เรื่องอากาศ (งานเดี่ยว) อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปหา ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอากาศ (งานกลุ่ม)

มีหัวข้อดังนี้


เรื่องอากาศ

ที่มา

อากาศคือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง   และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น   ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ   ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น

ความสำคัญ มี8อย่าง
1.มีก๊าซบางชนิดที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
2.มีอิทธิพลต่อการเกิดปริมาณและคุณภาพของทรัพยากร
3ช่วยปรับอุณหภูมิในน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ 
4.ทำให้เกิดลมและฝน
5.มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจและร่างกายและของมนุษย์ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม
6.ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์
7.ช่วยเผาไห้ม วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กไป
8.ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม 

การดูแลรักษา"สภาพอากาศ"
-งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร
ไม่เผาป่า ฟางข้าว หรือขยะมูลฝอย เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน
-แก้ไข รถควันดำ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน-มอนอกไซด์
-อนุรักษ์ป่าไม้จะช่วยลดภาวะเรือนกระจก 
-ปรับเปลี่ยนวิธีการเผาขยะมาเป็นการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลใหม่

ลักษณะอากาศ (weather) เป็นเรื่องของความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกิดขึ้น  เวลาใดเวลาหนึ่งในช่วงสั้นๆ ซึ่งยากต่อการพยากรณ์ให้ถูกต้องแม่นยำ ในขณะที่ภูมิอากาศ (climate) เป็นการมองภาพรวมของสภาพอากาศในระยะเวลาที่ยาวกว่า จึงทำให้ความแปรปรวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ถูกขจัดออกไป 

มลพิษทางอากาศ/โทษ

    1. ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

1.1 เกิดการเจ็บป่วยหรือการตายที่เป็นแบบเฉียบพลัน (acute sickness or death)      มีสาเหตุมาจากการที่ได้สัมผัสโดยการหายใจเอามลพิษทางอากาศที่ความเข้มข้นสูงเข้าสู่ปอด และในบรรดาผู้ที่เจ็บป่วยและตายนั้นมักจะเป็นพวกผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้วมากกว่าคนกลุ่มอื่น 

1.2 เกิดการเจ็บป่วยที่เป็นแบบเรื้อรัง (chronic disease)      การเจ็บป่วยชนิดนี้เป็นผลเนื่องจากการได้สัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีความเข้มข้นไม่สูงมากนักแต่ด้วยระยะเวลาที่นานมากพอ ที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้ ที่พบบ่อย  ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่าง 

1.3 เกิดการเปลี่ยนแปลงของหน้าที่ทางสรีระต่าง  (physiologycal functions)      ของร่างกายที่สำคัญได้แก่  การเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานทางด้านการระบายอากาศของปอด การนำพาออกซิเจนของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การปรับตัวให้เข้ากับความมืดของตา หรือหน้าที่อื่น  ของระบบประสาท เป็นต้น
1.4 เกิดอาการซึ่งไม่พึงประสงค์ต่าง  (untoward symptoms)                                                                                     ตัวอย่างเช่น อาการระคายเคืองของอวัยวะสัมผัสต่าง  เช่น ตา จมูก ปาก เป็นต้น

1.5 เกิดความเดือดร้อนรำคาญ (Nuisance) ตัวอย่างเช่น กลิ่น ฝุ่น ขี้เถ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่และจิตใจ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นที่เป็นสาเหตุของการโยกย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกหนีปัญหาดังกล่าวก็ได้

  2. ผลต่อพืช

2.1 อันตรายที่เกิดกับพืช  หมายถึง ในกรณีที่มีมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นอันตรายต่อพืชและอันตรายดังกล่าวนี้สามารถวัดหรือตรวจสอบได้โดยตรง เช่นPAN ทำอันตรายต่อสปองจี้เซลล์(spongy cells) O 3 ทำอันตรายโดยเท่าเทียมกันต่อเซลล์ทุกชนิดของใบ SO 2 ทำให้ใบของพืชสีจางลง ใบเหลืองเนื่องจากคลอโรฟีลล์ถูกทำลาย

2.2 ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพืช หมายถึง กรณีที่การเปลี่ยนแปลงอันวัดได้และทดสอบได้ของพืชซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ใช้สอยของพืชนั้น เช่น ดอกกล้วยไม้เป็นรอยด่าง มีสีจางลงเป็นจุด  เนื่องจากแก๊สอะเซทิลีน

3. ผลต่อสัตว์

 สัตว์จะได้รับสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่ด้วยเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือโดยการที่สัตว์กินหญ้า หรือพืชอื่น  ที่มีมลพิษทางอากาศตกสะสมอยู่ด้วยปริมาณมากพอที่จะเกิดอันตรายได้ มลพิษทางอากาศที่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อปศุสัตว์มากที่สุด ได้แก่ อาร์เซนิกหรือสารหนู ฟลูออรีน ตะกั่ว และแคดเมียมเป็นต้น

4. ผลต่อวัตถุและทรัพย์สิน 

 โดยกลไกที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อวัตถุ ได้แก่ การขัดสีของฝุ่นทรายที่มีอยู่ในกระแสลมในบรรยากาศกับวัตถุต่าง  เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถาปัตยกรรม เป็นเวลานานก็จะทำให้วัสดุสึกกร่อน การตกตะกอนของอนุภาคมลสารลงบนพื้นผิวของวัตถุทำให้เกิดความสกปรก และวิธีการทำความสะอาดหรือกำจัดอนุภาคเหล่านั้นออกก็อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเคมีและการกัดกร่อนระหว่างมลสารกับผิวของวัตถุก็อาจเกิดขึ้นได้เช่น ทำให้โลหะผุกร่อน ยางและพลาสติกเปราะและแตก ผ้าเปื่อยและขาด ผิวเซรามิกส์ด้าน 

อาจารย์ให้นั่งเข้ากลุ่มเพื่อค้นหาของเล่นจากอากาศ
นี่คือของเล่นที่กลุ่มดิฉันหามาได้ค่ะ 








หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปใส่ในกระดานความรู้นี้ค่ะ


VOCABULARY

1.Treatment                 การดูแลรักษา
2. Nuisance                 ความรำคาญ
3. Contamination         การปนเปื้อน
4. The influence           อิทธิพล
5. danger                     อันตราย






วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562





NOTE 02

14 AUGUST 2019




อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆละ 4-5 คน จากนั้นให้ถ่ายรูปสมาชิกและรายชื่อลงในเว็บไซต์ https://padlet.com/

                                      

นี่คือสมาชิกของกลุ่มดิฉัน


หลังจากเราอัพโหลดรูปและใส่รายชื่อเราก็จะได้หน้าตาแบบนี้ค่ะ



จากนั้นอาจารย์ให้ตอบคำถามในหัวข้อ "วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง"

ก่อนจะตอบคำถามอาจารย์ให้เตรียมความพร้อมโดยการปรบมือ 3 ครั้ง และอาจารย์ได้ถามว่า อาจารย์ให้ปรบทำไม คำตอบคือ "เพราะอาจารย์สั่ง นั่นคือความจริง และการคิดอย่างมีเหตุมีผล "

ให้แต่ละคนคอมเม้นตอบคำถามใต้โพสในกลุ่มที่ได้ตั้งไว้ในเว็บไซต์ เป็นการตอบคำถามที่ใช้ความคิดเห็นเข้าร่วมด้วย ใช้การคิดว่าวิชานี้น่าจะเรียนเกี่ยวกับอะไร สอนอะไรให้กับเด็ก แล้วเด็กจะได้สิ่งใด





หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มดังนี้
  • แสง
  • อากาศ
  • น้ำ 
  • เสียง
  • เครื่องกล
  • หิน ดิน ทราย

กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อ " อากาศ " และให้ไปค้นคว้าข้อมูลของอากาศตามหัวข้อดังนี้
  1. ที่มาและแหล่งกำเนิด
  2. ลักษณะและคุณสมบัติ
  3. ความสำคัญและประโยขน์
  4. การดูแลรักษา
  5. โทษ ข้อระวังและผลกระทบ

VOCABULARY
  1. Participation        การเข้าร่วม
  2. Prepare                เตรียมความพร้อม  
  3. Truth                    ความจริง
  4. Cerebration          การใช้สมอง
  5. Reasoning            การมีเหตุผล







วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562





 NOTE 01

7 AUGUST 2019


วันนี้เรียนรวมกันสองกลุ่ม กลุ่มของดิฉันเรียนวันศุกร์แต่ย้ายมาเรียนรวมชั่วคราวเนื่องจากวันศุกร์ติดกิจกรรมรับน้องใหม่ของทางมหาวิทยาลัย


อาจารย์ได้อธิบายการเรียนการสอนต่างๆและยังรวมถึงการทำบล็อกของเทอมนี้ซึ่งจะแตกต่างไปจากเดิมคือเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับพวกเรามากค่ะ


ซึ่งในการทำบล็อกเป็นภาษาอังกฤษมีข้อดีอยู่หลายอย่าง ช่วยให้เราได้ฝึกภาษา ได้คำศัพท์ใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์

VOCABULARY
1. Practice            ฝึก
2. Challenge        ท้าทาย
3. Different          แตกต่าง
4. Total                รวม
5. Benefit            ประโยชน์













RESEARCH


    สรุปวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2

    ชื่อวิจัย  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2

    ปริญญานิพนธ์  ยุพิน แหวนมุข  มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
    ปีที่พิมพ์ 2556


    ความมุ่งหมาย

    1.พัฒนาชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
    2.เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์ สำหรีับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
    3.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการทดลองใช้ชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาสาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2

    กลุ่มตัวที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกลอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 19 คน โดยสุ่มอย่างง่าย

    เครื่องมือ

    1.ชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
    2.แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้ชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
    3.แบบทดสอบรูปภาพ 1 ชุด จำนวน 10 ข้อ
    4.แบบสังเกตและแบบบันทึกพฤติกรรม สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 

    สถิติที่ใช้วิเคาระห์ข้อมูล 
    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent samples t-test และการหาค่าดัชนีประสิทธิผล

    สมมุติฐาน

    นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง

    ชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2

    เกณฑ์การสังเกต
    แบบสังเกตพฤติกรรม




    แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์




    วิธีการดำเนิน

    1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มม่วงเจริญ ได้แก่ โรงเรียนบ้านโคกสมบูรณ์จำนวน 12 คน โรงเรียนบ้านปลื้มพัฒนาจำนวน 48 คน โรงเรียนบ้านโคกลอยจำนวน 19 คน ปีการศึกษา 2553 รวมจำนวน 79 คน

          1.2 กลุ่มตัวที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกลอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 19 คน

    สรุปผลวิจัย


    1.ชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 85.59/82.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
    2.ดัชนีประสิทธิผลชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6559 แสดงว่านีกเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นร้อยละ 65
    3.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลีงการทดลองใช้ชุดเตรียมความพร้อมทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01







NOTE 15   22 NOVEMBER 2019 วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาที่ต้องแก้ไขในสัปดาห์ที่แล้วออกมานำเสนออีกครั้ง ...