วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562




NOTE 08 

20 SEPTEMBER 2019

วันนี้นำเสนอการทดลองต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ยังคงให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขและปรับปรุงข้อบกพร่อง ปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ








                           กิจกรรมต่อไป แรงตึงผิวของน้ำ 
อาจารย์ให้นักศึกษาออกไปหาขวดน้ำดื่มที่มีขนาดเท่ากันทั้งหมด
จากนั้นอาจารย์ก้ได้ให้เอาขวดน้ำมาตัด ให้ทุกกลุ่มเอาน้ำใส่ขวดน้ำที่ตัดแล้วให้ปริ่มกับขอบแก้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเหรียญบาทออกก่อน จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำเหรียญหย่อนลงไปเบาๆแล้วสังเกตว่าน้ำในแก้วมันล้นออกมาหรือไม่ อาจารย์ถามว่าถ้าใส่เหรียญจะต้องใส่เหรียญกี่เหนียญน้ำในแก้วถึงจะล้นและคาดว่าอีกกี่เหรียญ 
 กลุ่มดิฉันใส่ 7 เหรียญ น้ำไม่ล้นไม่เป็นไปตามสมมติฐาน จากนั้นอาจารย์ให้รวมกลุ่ม จาก 6 กลุ่มเป็น 3 กลุ่ม และตั้งไว้ว่าจะหย่อนเหรียญลงไปกี่เหรียญ อาจารย์ถาม คิดว่าจะใส่อีกเท่าไหร่ กลุ่มดิฉัน 35เหรียญ  ก็ยังไม่ล้น สุดที่ 50 เหรียญก็ยังไม่ล้น 

▶️▶️ แรงตึงผิว คือแรงต้านที่ผิวหน้าของของเหลว เป็นการเกาะติดระหว่างโมเลกุลที่ผิวของเหลว ของเหลวที่มีแรงตึงผิวสูง จะมีแรงเกาะติดระหว่างโมเลกุลมาก ทำให้ควบคุมรูปร่างให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรน้อยที่สุด เป็นทรงกลม ทรงหยด 



ทักษะทางวิทยาศาตร์ 

 ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์ 

     ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง  ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ

 ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
     
ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    
แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้
    
  ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณหาร หรือหาค่าเฉลี่ย

     
ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย

     
ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)ความหมาย : เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย

     
ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า  หลักการ กฏหรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. 
การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. 
การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล


     
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)ความหมาย : เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน

     
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง  ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น

     
ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ

     
ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. 
การออกแบบการทดลอง
2. 
การปฏิบัติการทดลอง
3. 
การบันทึกผลการทดลอง

     
ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น  ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. 
การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. 
การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 4 ขั้น 

1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา 
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล 
4. ขั้นสรุป 

VOCABULARY 

1. Process             กระบวนการ
2. Problem              ปัญหา 
3. Relations            ความสัมพันธ์
4. Editing               การแก้ไข 
5. Suggestion        คำแนะนำ










วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562




NOTE 07

13 SEPTEMBER 2019

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์มาทำการทดลองที่มาจากการเลือกภายในกลุ่มจาก 5 เรื่องในสัปดาห์ที่แล้ว ในหัวข้ออากาศ และเรื่องที่ได้เลือกจากบ้านวิทยาศาสตร์ก็คือ " สถานีเติมลม " 


วิธีการทดลอง

หลังจากได้นำเสนออาจารย์ได้ให้คำแนะนำ
• การตั้งสมมติฐาน เช่น หากครูนำแกเวน้ำจุ่มลงในน้ำ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น (เป็นการตั้งสมมติฐานของครู ยังไม่เป็นเป็นการตั้งสมมติฐานของเด็ก) 
เด็ก : แก้วเปียกค่ะ/ครับ (เป็นการตั้งสมมติฐาน)
เราต้องนำเนื้อหาวิทยาศาสตร์มาแปลงเป็นการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน และได้ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับเด็ก เราไม่ควรทำแค่การทดลองให้เด็กดูเฉยๆ เด็กจะไม่ได้ความรู้อะไรเลยจากการทดลองนี้ และเพื่อนได้นำเสนอเรื่อยๆแล้วมีการไปต่อในสัปดาห์หน้า


                       --------------------------------------------------------------------------------------------


ต่อไปอาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่ม โดยอาจารย์แจกกระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ให้ช่วยกันวาดแหล่งน้ำที่ตนเองและเพื่อนๆรู้จักโดยไม่บอกชื่อและวาดโดยให้มีจุดเด่น จากนั้นจะให้เพื่อนทายว่าแหล่งน้ำที่เราวาดคืออยู่ที่ไหน








พอกิจกรรมวาดรูปเสร็จอาจารย์ได้แจกกระดาษหนังสือพิมพ์มาแจกให้นักศึกษากลุ่มละ 5 แผ่น โดยอาจารย์บอกว่า เมื่อมีแหล่งน้ำแล้วเราต้องสร้างที่กักเก็บน้ำโดยการให้สร้างแทงค์น้ำ โดยการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ 5 แผ่น กาวหนังไก่ ความสูงต้องเกิน 5 ฝ่ามือ (ฝ่ามือกระดาษของอาจารย์ที่ทำมาให้)




เพื่อนๆทำได้อย่างแข็งแรงและการทดสอบความแข็งแรงก็ได้เริ่มขึ้น อาจารย์เลยนำ กระเป๋าดินสอวางใส่พานลงไปอีกชั้น เพื่อทดสอบความแข็งแรง ทุกกลุ่มผ่านไปได้ และอาจารย์ได้เพิ่มน้ำหนักขึ้น เป็นกระปุกกาว และขวดน้ำส้มสายชู และสุดท้าย ขวดน้ำส้มสาชูกับกระปุกกาวสองอย่างรวมกัน จะมีบางกลุ่มไม่แข็งแรงพอพี่จะรับน้ำหนักไหว 
แต่มีสองกลุ่มที่รับน้ำหนักไหวเกิดการแข่งขันกันอย่างสนุก 


VOCABULARY

1. Scientific skills          ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
2. Prepare                       เตรียมการ 
3. Equipment                  อุกรณ์ 
4. Improvement              การปรับปรุง
5. Hypothesis                  สมมติฐาน 









วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562




NOTE 06

4 SEPTEMBER 2019


วันนี้อาจารย์ ได้ให้นักศึกษาเรียนนอกตารางเพื่อให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วพิมพ์การทดลอง ที่ตนเองเลือกเป็นของตนเองแล้วนำมารวมกันเป็นรูปเล่มส่งอาจารย์ แล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเลือกการทดลองมากลุ่มละ 1 การทดลอง(ที่อยู่ใน5เรื่องที่แต่ละคนเลือกไป) เพื่อที่จะมาเสนอทำการทดลองหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์หน้า




VOCABULARY


1. Gathering                         การรวบรวม
2. divide into groups             แบ่งกลุ่ม
3. Selection                          การคัดเลือก
4. Decide                              ตัดสินใจ
5. Demonstration                  การสาธิต









วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562



NOTE 05 

30 AUGUST 2019

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาการทดลองวิทยาศาตร์ 
สำหรับเด็กปฐมวัยมาคนละ 1 การทดลองโดยที่ไม่ซ้ำกัน


การทดลองของดิฉันคือ ถุงมหัศจรรย์



อุปกรณ์ : ถุงพลาสติก, ดินสอไม้แหลมๆ , น้ำ
การทดลอง :  นำถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ใส่น้ำเปล่า และมัดปากถุง ใช้ดินสอไม้แทงทะลุถุงผ่านไปอีกด้าน จะสังเกตได้ว่าน้ำไม่รั่วแม้แต่หยดเดียว 
                         




คลิปวิดีโอการทดลอง
VOCABULARY
1. Experimentation            การทดลอง
2. Observe                        สังเกต
3. Resilient                        ยืดหยุ่น
4. Qualification                  คุณสมบัติ
5. Molecules                     โมเลกุล


NOTE 15   22 NOVEMBER 2019 วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาที่ต้องแก้ไขในสัปดาห์ที่แล้วออกมานำเสนออีกครั้ง ...