วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562





NOTE 03

16 AUGUST 2019




วันนี้เรียนรวมกันเนื่องจากสัปดาห์หน้าอาจารย์ติดธุระจะได้ไม่เป็นการเสียเวลาเรียน




ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ของเล่นวิทยาศาสตร์เรื่องอากาศ (งานเดี่ยว) อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปหา ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอากาศ (งานกลุ่ม)

มีหัวข้อดังนี้


เรื่องอากาศ

ที่มา

อากาศคือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง   และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น   ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ   ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น

ความสำคัญ มี8อย่าง
1.มีก๊าซบางชนิดที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
2.มีอิทธิพลต่อการเกิดปริมาณและคุณภาพของทรัพยากร
3ช่วยปรับอุณหภูมิในน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ 
4.ทำให้เกิดลมและฝน
5.มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจและร่างกายและของมนุษย์ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม
6.ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์
7.ช่วยเผาไห้ม วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กไป
8.ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม 

การดูแลรักษา"สภาพอากาศ"
-งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร
ไม่เผาป่า ฟางข้าว หรือขยะมูลฝอย เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน
-แก้ไข รถควันดำ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน-มอนอกไซด์
-อนุรักษ์ป่าไม้จะช่วยลดภาวะเรือนกระจก 
-ปรับเปลี่ยนวิธีการเผาขยะมาเป็นการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลใหม่

ลักษณะอากาศ (weather) เป็นเรื่องของความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกิดขึ้น  เวลาใดเวลาหนึ่งในช่วงสั้นๆ ซึ่งยากต่อการพยากรณ์ให้ถูกต้องแม่นยำ ในขณะที่ภูมิอากาศ (climate) เป็นการมองภาพรวมของสภาพอากาศในระยะเวลาที่ยาวกว่า จึงทำให้ความแปรปรวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ถูกขจัดออกไป 

มลพิษทางอากาศ/โทษ

    1. ผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

1.1 เกิดการเจ็บป่วยหรือการตายที่เป็นแบบเฉียบพลัน (acute sickness or death)      มีสาเหตุมาจากการที่ได้สัมผัสโดยการหายใจเอามลพิษทางอากาศที่ความเข้มข้นสูงเข้าสู่ปอด และในบรรดาผู้ที่เจ็บป่วยและตายนั้นมักจะเป็นพวกผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้วมากกว่าคนกลุ่มอื่น 

1.2 เกิดการเจ็บป่วยที่เป็นแบบเรื้อรัง (chronic disease)      การเจ็บป่วยชนิดนี้เป็นผลเนื่องจากการได้สัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีความเข้มข้นไม่สูงมากนักแต่ด้วยระยะเวลาที่นานมากพอ ที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้ ที่พบบ่อย  ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่าง 

1.3 เกิดการเปลี่ยนแปลงของหน้าที่ทางสรีระต่าง  (physiologycal functions)      ของร่างกายที่สำคัญได้แก่  การเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานทางด้านการระบายอากาศของปอด การนำพาออกซิเจนของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การปรับตัวให้เข้ากับความมืดของตา หรือหน้าที่อื่น  ของระบบประสาท เป็นต้น
1.4 เกิดอาการซึ่งไม่พึงประสงค์ต่าง  (untoward symptoms)                                                                                     ตัวอย่างเช่น อาการระคายเคืองของอวัยวะสัมผัสต่าง  เช่น ตา จมูก ปาก เป็นต้น

1.5 เกิดความเดือดร้อนรำคาญ (Nuisance) ตัวอย่างเช่น กลิ่น ฝุ่น ขี้เถ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่และจิตใจ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นที่เป็นสาเหตุของการโยกย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกหนีปัญหาดังกล่าวก็ได้

  2. ผลต่อพืช

2.1 อันตรายที่เกิดกับพืช  หมายถึง ในกรณีที่มีมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นอันตรายต่อพืชและอันตรายดังกล่าวนี้สามารถวัดหรือตรวจสอบได้โดยตรง เช่นPAN ทำอันตรายต่อสปองจี้เซลล์(spongy cells) O 3 ทำอันตรายโดยเท่าเทียมกันต่อเซลล์ทุกชนิดของใบ SO 2 ทำให้ใบของพืชสีจางลง ใบเหลืองเนื่องจากคลอโรฟีลล์ถูกทำลาย

2.2 ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพืช หมายถึง กรณีที่การเปลี่ยนแปลงอันวัดได้และทดสอบได้ของพืชซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์ใช้สอยของพืชนั้น เช่น ดอกกล้วยไม้เป็นรอยด่าง มีสีจางลงเป็นจุด  เนื่องจากแก๊สอะเซทิลีน

3. ผลต่อสัตว์

 สัตว์จะได้รับสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยการที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษปะปนอยู่ด้วยเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือโดยการที่สัตว์กินหญ้า หรือพืชอื่น  ที่มีมลพิษทางอากาศตกสะสมอยู่ด้วยปริมาณมากพอที่จะเกิดอันตรายได้ มลพิษทางอากาศที่พบว่าทำให้เกิดอันตรายต่อปศุสัตว์มากที่สุด ได้แก่ อาร์เซนิกหรือสารหนู ฟลูออรีน ตะกั่ว และแคดเมียมเป็นต้น

4. ผลต่อวัตถุและทรัพย์สิน 

 โดยกลไกที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อวัตถุ ได้แก่ การขัดสีของฝุ่นทรายที่มีอยู่ในกระแสลมในบรรยากาศกับวัตถุต่าง  เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถาปัตยกรรม เป็นเวลานานก็จะทำให้วัสดุสึกกร่อน การตกตะกอนของอนุภาคมลสารลงบนพื้นผิวของวัตถุทำให้เกิดความสกปรก และวิธีการทำความสะอาดหรือกำจัดอนุภาคเหล่านั้นออกก็อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเคมีและการกัดกร่อนระหว่างมลสารกับผิวของวัตถุก็อาจเกิดขึ้นได้เช่น ทำให้โลหะผุกร่อน ยางและพลาสติกเปราะและแตก ผ้าเปื่อยและขาด ผิวเซรามิกส์ด้าน 

อาจารย์ให้นั่งเข้ากลุ่มเพื่อค้นหาของเล่นจากอากาศ
นี่คือของเล่นที่กลุ่มดิฉันหามาได้ค่ะ 








หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปใส่ในกระดานความรู้นี้ค่ะ


VOCABULARY

1.Treatment                 การดูแลรักษา
2. Nuisance                 ความรำคาญ
3. Contamination         การปนเปื้อน
4. The influence           อิทธิพล
5. danger                     อันตราย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

NOTE 15   22 NOVEMBER 2019 วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาที่ต้องแก้ไขในสัปดาห์ที่แล้วออกมานำเสนออีกครั้ง ...