วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562




NOTE 08 

20 SEPTEMBER 2019

วันนี้นำเสนอการทดลองต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ยังคงให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขและปรับปรุงข้อบกพร่อง ปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ








                           กิจกรรมต่อไป แรงตึงผิวของน้ำ 
อาจารย์ให้นักศึกษาออกไปหาขวดน้ำดื่มที่มีขนาดเท่ากันทั้งหมด
จากนั้นอาจารย์ก้ได้ให้เอาขวดน้ำมาตัด ให้ทุกกลุ่มเอาน้ำใส่ขวดน้ำที่ตัดแล้วให้ปริ่มกับขอบแก้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเหรียญบาทออกก่อน จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำเหรียญหย่อนลงไปเบาๆแล้วสังเกตว่าน้ำในแก้วมันล้นออกมาหรือไม่ อาจารย์ถามว่าถ้าใส่เหรียญจะต้องใส่เหรียญกี่เหนียญน้ำในแก้วถึงจะล้นและคาดว่าอีกกี่เหรียญ 
 กลุ่มดิฉันใส่ 7 เหรียญ น้ำไม่ล้นไม่เป็นไปตามสมมติฐาน จากนั้นอาจารย์ให้รวมกลุ่ม จาก 6 กลุ่มเป็น 3 กลุ่ม และตั้งไว้ว่าจะหย่อนเหรียญลงไปกี่เหรียญ อาจารย์ถาม คิดว่าจะใส่อีกเท่าไหร่ กลุ่มดิฉัน 35เหรียญ  ก็ยังไม่ล้น สุดที่ 50 เหรียญก็ยังไม่ล้น 

▶️▶️ แรงตึงผิว คือแรงต้านที่ผิวหน้าของของเหลว เป็นการเกาะติดระหว่างโมเลกุลที่ผิวของเหลว ของเหลวที่มีแรงตึงผิวสูง จะมีแรงเกาะติดระหว่างโมเลกุลมาก ทำให้ควบคุมรูปร่างให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรน้อยที่สุด เป็นทรงกลม ทรงหยด 



ทักษะทางวิทยาศาตร์ 

 ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์ 

     ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง  ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ

 ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
     
ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    
แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้
    
  ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณหาร หรือหาค่าเฉลี่ย

     
ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย

     
ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)ความหมาย : เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย

     
ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า  หลักการ กฏหรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. 
การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. 
การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล


     
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)ความหมาย : เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน

     
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง  ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น

     
ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ

     
ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. 
การออกแบบการทดลอง
2. 
การปฏิบัติการทดลอง
3. 
การบันทึกผลการทดลอง

     
ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น  ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. 
การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. 
การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 4 ขั้น 

1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา 
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล 
4. ขั้นสรุป 

VOCABULARY 

1. Process             กระบวนการ
2. Problem              ปัญหา 
3. Relations            ความสัมพันธ์
4. Editing               การแก้ไข 
5. Suggestion        คำแนะนำ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น