NOTE 07
13 SEPTEMBER 2019
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์มาทำการทดลองที่มาจากการเลือกภายในกลุ่มจาก 5 เรื่องในสัปดาห์ที่แล้ว ในหัวข้ออากาศ และเรื่องที่ได้เลือกจากบ้านวิทยาศาสตร์ก็คือ " สถานีเติมลม "
วิธีการทดลอง
หลังจากได้นำเสนออาจารย์ได้ให้คำแนะนำ
• การตั้งสมมติฐาน เช่น หากครูนำแกเวน้ำจุ่มลงในน้ำ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น (เป็นการตั้งสมมติฐานของครู ยังไม่เป็นเป็นการตั้งสมมติฐานของเด็ก)
เด็ก : แก้วเปียกค่ะ/ครับ (เป็นการตั้งสมมติฐาน)
เราต้องนำเนื้อหาวิทยาศาสตร์มาแปลงเป็นการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน และได้ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับเด็ก เราไม่ควรทำแค่การทดลองให้เด็กดูเฉยๆ เด็กจะไม่ได้ความรู้อะไรเลยจากการทดลองนี้ และเพื่อนได้นำเสนอเรื่อยๆแล้วมีการไปต่อในสัปดาห์หน้า
--------------------------------------------------------------------------------------------
ต่อไปอาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่ม โดยอาจารย์แจกกระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ให้ช่วยกันวาดแหล่งน้ำที่ตนเองและเพื่อนๆรู้จักโดยไม่บอกชื่อและวาดโดยให้มีจุดเด่น จากนั้นจะให้เพื่อนทายว่าแหล่งน้ำที่เราวาดคืออยู่ที่ไหน
พอกิจกรรมวาดรูปเสร็จอาจารย์ได้แจกกระดาษหนังสือพิมพ์มาแจกให้นักศึกษากลุ่มละ 5 แผ่น โดยอาจารย์บอกว่า เมื่อมีแหล่งน้ำแล้วเราต้องสร้างที่กักเก็บน้ำโดยการให้สร้างแทงค์น้ำ โดยการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ 5 แผ่น กาวหนังไก่ ความสูงต้องเกิน 5 ฝ่ามือ (ฝ่ามือกระดาษของอาจารย์ที่ทำมาให้)
เพื่อนๆทำได้อย่างแข็งแรงและการทดสอบความแข็งแรงก็ได้เริ่มขึ้น อาจารย์เลยนำ กระเป๋าดินสอวางใส่พานลงไปอีกชั้น เพื่อทดสอบความแข็งแรง ทุกกลุ่มผ่านไปได้ และอาจารย์ได้เพิ่มน้ำหนักขึ้น เป็นกระปุกกาว และขวดน้ำส้มสายชู และสุดท้าย ขวดน้ำส้มสาชูกับกระปุกกาวสองอย่างรวมกัน จะมีบางกลุ่มไม่แข็งแรงพอพี่จะรับน้ำหนักไหว
แต่มีสองกลุ่มที่รับน้ำหนักไหวเกิดการแข่งขันกันอย่างสนุก
VOCABULARY
1. Scientific skills ทักษะทางวิทยาศาสตร์
2. Prepare เตรียมการ
3. Equipment อุกรณ์
4. Improvement การปรับปรุง
5. Hypothesis สมมติฐาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น